
ดูแลลูกแมวแรกเกิด นั้นไม่ยากเลย หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่เห็นแมวเมื่อไหร่แล้วใจสั่น อยากพุ่งเข้าไปกอดเข้าไปฟัด อยากจกพุง และร้องเรียกเหมียว ๆ ด้วยเสียงสองเพื่อให้น้องมาหาแล้วละก็ ให้มั่นใจได้เลยว่าคุณคือทาสแมวอย่างไม่ต้องสงสัย และเมื่อถึงวันที่คุณพร้อมจะมีแมวเหมียวสักตัวเข้ามาเป็นนายท่านในบ้าน หรือบังเอิญมีแมวจรมาคลอดสมาชิกยกโขยงที่บริเวณพื้นที่ของคุณแล้วนั้น สิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้คือเทคนิคการเลี้ยงนั่นเอง

ลูกแมววัยนี้เป็นลูกแมวที่เพิ่งคลอดออกจากท้องแม่หมาด ๆ และยังไม่หย่านม สิ่งที่ดีที่สุดในการ ดูแลลูกแมวแรกเกิด คือการให้เขาได้อยู่ในอ้อมอกแม่และบรรดาพี่น้องตัวอื่น ๆ เพราะลูกแมวจะลืมตาได้ต่อเมื่อครบ 7 - 14 วัน เขาจึงต้องการการปกป้อง ต้องการความใกล้ชิด และได้รับน้ำนมจากแม่แมวเท่านั้น
ในกรณีที่ลูกแมวพลัดจากแม่ของมันควรเตรียมนมแพะหรือนมสำหรับทดแทนนมแม่แมวโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้นมวัวเพราะลูกแมวไม่สามารถย่อยนมวัวได้ โดยให้ดื่มนมทดแทนทุก ๆ 1 - 2 ชั่วโมง และที่สำคัญควรใช้สำลีชุบน้ำอุ่น ๆ เช็ดบริเวณอวัยวะขับถ่ายเพื่อกระตุ้นการปัสสาวะและอุจจาระ
การดูแลลูกแมวแรกเกิดดูเหมือนจะยากแต่ในความจริงแล้วหากมีแม่แมวดูแลอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเลย เพียงหาที่นอนที่อบอุ่นให้ก็เพียงพอ แต่ในบางครั้งที่เราจำเป็นต้องสัมผัสเขานั้นควรจะทำอย่างเบามือที่สุด
ดูแลลูกแมวแรกเกิด อายุ 1 - 2 เดือน

ลูกแมวในช่วงวัยนี้จะเริ่มหย่านมแม่ เริ่มมีการเลียนแบบพฤติกรรมของแม่แมว มีพัฒนาการด้านการได้ยิน การดมกลิ่น การเคลื่อนไหว และการเข้าสังคมที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก สำหรับวิธี ดูแลลูกแมวแรกเกิด ในช่วงวัยนี้นั้นเพียงเตรียมของเล่นเหมาะ ๆ ที่ปลอดภัย สถานที่โล่ง ๆ ฝึกขับถ่ายในกระบะทราย และพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและถ่ายพยาธิทุก ๆ เดือน นอกจากนี้ให้เตรียมอาหารเปียกหรืออาหารเม็ดสำหรับแมวเด็กจากอาหารแมวยี่ห้อต่าง ๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งควรเลือกยี่ห้อเดียวเท่านั้น ไม่ควรเปลี่ยนยี่ห้ออาหารไปมาเพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของน้องแมว
ลูกแมวอายุ 2 - 4 เดือน

วัยแห่งการเติบโตของลูกแมวจะเริ่มต้นที่ช่วงเวลานี้ เขาจะเรียนรู้พฤติกรรมของแม่แมวหรือแม้แต่มนุษย์จนกลายเป็นบุคลิกเฉพาะตัว และเริ่มรู้จักพื้นที่ของตัวเองอย่างมากในวัยนี้ จึงจำเป็นต้องใส่ใจและให้ความรักมากกว่าการดูแลลูกแมวแรกเกิดในช่วงวัยก่อนหน้านี้ เพราะเขาจะตื่นตัวหรือตื่นเต้นกับโลกใบใหม่มากกว่าเดิม และมีพลังงานมากกว่าแมววัยอื่น ๆ ถึง 3 เท่า อีกทั้งยังเป็นช่วงวัยที่เหมาะกับการย้ายบ้านใหม่อีกด้วย ส่วนการให้อาหารนั้นควรให้อาหารเม็ดล้วน ๆ ได้แล้วแม้ลูกแมวจะไม่ยอมกินก็ตาม ไม่ควรตามใจเขาเกินไปไม่อย่างนั้นจะติดเป็นนิสัย
ลูกแมวอายุ 4 เดือนขึ้นไป

ลูกแมววัยนี้จะมีพัฒนาการเข้าสู่การใกล้เติบโตเต็มวัยอย่างเห็นได้ชัด อาจมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารักบางอย่าง เช่น ขับถ่ายเรี่ยราดเพราะต้องการแสดงความเป็นเจ้าของ ข่วนหรือขู่เพราะต้องการความเป็นส่วนตัวอย่างชัดเจน น้ำหนักตัวจะเริ่มเพิ่มขึ้นมาถึง 80 % และเข้าสู่ช่วงของการติดสัด ทางที่ดีควรปรึกษากับสัตวแพทย์เพื่อทำหมันให้กับแมวในช่วงวัยนี้หากไม่ต้องการให้แมวมีทายาทต่อไป เมื่อแมวเข้าสู่วัยที่ใกล้เจริญเติบโตเต็มวัยให้จำไว้เสมอว่านิสัยของเขาอาจจะไม่น่ารัก ขี้เล่นเหมือนแมวเด็ก ๆ เพราะเขาเองก็เหมือนกับคนเราที่เมื่อโตขึ้นก็ไม่ได้ชอบทำแบบเดิม ๆ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นจะต้องดูแลด้วยวิธีประคบประหงมแบบเดียวกับการดูแลลูกแมวแรกเกิด
หากคุณเข้าใจและ ดูแลลูกแมวแรกเกิด ทั้งหลายได้เป็นอย่างดีจะทำให้พวกเขาเติบโตเป็นนายท่านที่แสนน่ารักและน่าเลี้ยงจนทาสอย่างเรายอมหมดเนื้อหมดตัวเพื่อสรรหาอาหารและของเล่นที่ดีที่สุดให้เลยทีเดียว แต่ไม่ว่ายังไงเหล่านายท่านของเรานั้นก็มีนิสัยและเอกลักษณ์เฉพาะตัว ความชอบและพฤติกรรมของพวกเขาจึงต่างกันตามสภาพแวดล้อมที่เติบโตมา หรือตามลักษณะนิสัยของสายพันธุ์นั้น ๆ ทาสทั้งหลายจึงควรสังเกตพฤติกรรมของบรรดาแมวเหมียวแสนรักเอาไว้เพื่อเอาใจและดูแลเขาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
อ่านบทความ เลี้ยงแมวต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
เครดิตรูปภาพทั้งหมดจาก https://pixabay.com/th/
Credit : แบบบ้าน , เครื่องดนตรีสากล , แม่และเด็ก , เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ , มอเตอร์ไซค์